จำนวนเงินชดเชยการออกจากระบบเงินบำนาญ(เนงคิง)
จำนวนเงินชดเชยจะเพิ่มขึ้นทุกๆ6เดือนที่เข้าระบบ และจะได้รับชดเชยมากที่สุด60เดือน (5ปี) ซึ่งถ้าหากมากกว่าจำนวนดังกล่าวก็ไม่มีผลหรือทำให้จำนวนชดเชยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าระบบในระยะเวลา5ปีถึง9ปีจึงได้รับเงินชดเชยจำนวนเท่ากัน
※ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
「อ้างอิงจากเว็บไซต์ของ Japan Pension Service สำหรับผู้พำนักระยะสั้น」
① การคำนวนเงินชดเชยของระบบบำนาญแห่งชาติ
ท่านผู้ที่ชำระเบี้ยประกันครั้งสุดท้ายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จำนวนเงินจะคำนวณตามปีที่ชำระเบี้ยประกันครั้งสุดท้ายและระยะเวลาที่เข้าระบบเนงคิง
※สำหรับผู้ที่ชำระเบี้ยประกันครั้งสุดท้ายก่อนเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 จำนวนเงินจะคำนวณเช่นเดียวกับที่ผ่านมา คือ 36เดือน (3ปี)
วิธีการคำนวณเงินชดเชยการออกจากระบบเงินบำนาญ(เนงคิง)
เบี้ยประกันของปีสุดท้ายที่ชำระ × 1/2 × ตัวเลขอัตราการคำนวณ
ตัวเลขอัตราการคำนวณจะคิดจากจำนวนเดือนที่เข้าระบบตามตารางด้านล่าง ซึ่งอัตราสูงสุดอยู่ที่ 60เดือน(5ปี)
【ในกรณีที่การชำระเบี้ยประกันครั้งสุดท้ายคือ เดือนเมษายน พ.ศ.2564 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2565】
ระยะเวลาที่เข้าระบบเงินบำนาญ | ตัวเลขอัตราการคำนวณ | จำนวนที่จะได้รับการชำระ(พ.ศ.2564) |
มากกว่า6เดือนแต่ต่ำกว่า12เดือน | 6 | 49,830円 |
มากกว่า12เดือนแต่ต่ำกว่า18เดือน | 12 | 99,660円 |
มากกว่า18เดือนแต่ต่ำกว่า24เดือน | 18 | 149,490円 |
มากกว่า24เดือนแต่ต่ำกว่า30เดือน | 24 | 199,320円 |
มากกว่า30เดือนแต่ต่ำกว่า36เดือน | 30 | 249,150円 |
มากกว่า36เดือนแต่ต่ำกว่า42เดือน | 36 | 298,980円 |
มากกว่า42เดือนแต่ต่ำกว่า48เดือน | 42 | 348,810円 |
มากกว่า48เดือนแต่ต่ำกว่า54เดือน | 48 | 398,640円 |
มากกว่า54เดือนแต่ต่ำกว่า60เดือน | 54 | 448,470円 |
60เดือนขึ้นไป | 60 | 498,300円 |
② การคำนวนเงินชดเชยของระบบประกันบำนาญสำหรับลูกจ้าง
ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2564 หากเดือนสุดท้าย (เดือนก่อนที่จะออกจากระบบเนงคิง) ที่จ่ายเบี้ยประกันคือเดือนเมษายน พ.ศ.2564 เป็นต้นไป จำนวณเงินจะคำนวณจากแบบ 60เดือน (5ปี)
※สำหรับผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันครั้งสุดท้ายก่อนเดือนเมษายน พ.ศ.2564 การคำนวณจะเป็นแบบ 36เดือน (3ปี)
วิธีการคำนวณเงินชดเชยการออกจากระบบเงินบำนาญ(เนงคิง)
(1) เงินเดือนเฉลี่ยตลอดระยะเวลาที่เข้าระบบ × (2) อัตราการชำระเบี้ยประกัน (อัตราเบี้ยประกัน×1/2×ตัวเลขอัตราการคำนวณ)
(1) เงินเดือนเฉลี่ยตลอดระยะเวลาที่เข้าระบบจะคำนวณได้จากผลรวมของA และBด้านล่าง หรือจำนวนเบี้ยประกันทั้งหมดแล้วหารด้วยจำนวนเดือนทั้งหมดของระยะเวลาที่เข้าระบบ
A เงินเดือนตลอดระยะเวลาที่เข้าระบบก่อนเดือนเมษายน พ.ศ.2546 ×1.3
B ผลรวมของรายได้และจำนวนเงินโบนัสตลอดระยะเวลาที่เข้าระบบหลังเดือนเมษายน พ.ศ.2546
(2) อัตราการชำระเบี้ยประกันสามารถคำนวณได้จาก อัตราเบี้ยประกัน ณ เดือนตุลาคมของปีก่อนหน้าปีที่อยู่ในระบบเนงคิงเป็นเดือนสุดท้าย (เดือนก่อนหน้าเดือนที่จะออกจากประเทศญี่ปุ่นถาวร) (หากเดือนสุดท้ายที่ชำระเบี้ยประกันคือเดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันของเดือนตุลาคมของสองปีก่อนหน้า) ของเดือนสุดท้ายที่ชำระเบี้ยประกัน×1/2×ตัวเลขในตารางด้านล่างตามระยะเวลาที่ชำระเบี้ยประกัน
【ในกรณีที่เดือนสุดท้ายคือเดือนเมษายน พ.ศ.2564เป็นต้นไป】
ระยะเวลาที่เข้าระบบเงินบำนาญ | ตัวเลขอัตราการคำนวณ | ตัวเลขอัตราการชำระเงิน |
มากกว่า6เดือนแต่ต่ำกว่า12เดือน | 6 | 0.5 |
มากกว่า12เดือนแต่ต่ำกว่า18เดือน | 12 | 1.1 |
มากกว่า18เดือนแต่ต่ำกว่า24เดือน | 18 | 1.6 |
มากกว่า24เดือนแต่ต่ำกว่า30เดือน | 24 | 2.2 |
มากกว่า30เดือนแต่ต่ำกว่า36เดือน | 30 | 2.7 |
มากกว่า36เดือนแต่ต่ำกว่า42เดือน | 36 | 3.3 |
มากกว่า42เดือนแต่ต่ำกว่า48เดือน | 42 | 3.8 |
มากกว่า48เดือนแต่ต่ำกว่า54เดือน | 48 | 4.4 |
มากกว่า54เดือนแต่ต่ำกว่า60เดือน | 54 | 4.9 |
60เดือนขึ้นไป | 60 | 5.5 |
ติดต่อเรา
- โทร.03-5453-6931
จากต่างประเทศ +81-3-5453-6931เนื่องจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาทำการของบริษัทเปลี่ยนเป็น 11:00น.-17:00น.เป็นการชั่วคราว(วันธรรมดา 10:00~18:00)
(ให้บริการในวันเสาร์ 11:00~17:00 น.)
หยุดให้บริการในวันเสาร์เป็นการชั่วคราวเนื่องจากมาตรการป้องกันการระบาดของCOVID-19 - ติดต่อทางอีเมลที่นี่
บริษัทในเครือPGและคู่ค้า
Related Services
บริษัทในเครือPGและคู่ค้า
-
การยื่นขอภาษีคืนโดยบริษัทแปซิฟิก การันตี
(ยื่นขอเงินภาษีคืนและบริการแบบครบวงจร) -
การจัดหางานโดยบริษัทพีจี แคเรีย เอเจนซี
(จัดหางาน) -
ปรึกษาด้านภาษี โดยสำนักงานนักภาษีอากรPG
(ธุรกิจด้านภาษี) -
สำนักงานผู้เชี่ยวชาญทางปกครองPG
(วีซ่าและงานทางปกครอง) -
สำนักงานผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสังคมและแรงงานฮิซามัตสึ
(ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสังคมและแรงงาน) -
ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทสแตนฟอร์ด
(ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์) -
บริษัทรีบอร์น จำกัด
(สำนักงานสถาปนิกชั้นนำ) -
IPPสำนักงานสิทธิบัตรระหว่างประเทศ
(สำนักงานสิทธิบัตร)